อาหารเสริมเพิ่มพัฒนาการ สำหรับลูกน้อยวัย 6-12 เดือน
ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ลูกน้อยไม่จำเป็นต้องได้รับอาหารอื่นนอกจากน้ำนมแม่ เพราะในน้ำนมแม่นั้นมีทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อลูกในวัยนี้อยู่แล้ว แต่เมื่อลูกเติบโตขึ้น ร่างกายก็เมีพัฒนาการตามโดยเฉพาะทางด้านร่างกาย ลูกจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเสริมเพิ่มเติมจากน้ำนมแม่เพิ่ม เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ให้สมวัยมากขึ้น
อาหารเสริม ควรเริ่มเมื่อไหร่
หลัง 6 เดือนเป็นต้นไปเป็นช่วงที่เหมาะสมที่ลูกจะได้รับอาหารเสริม เพราะร่างกายมีการพัฒนาระบบย่อยอาหารและขับถ่ายได้ดีขึ้นแล้ว เป็นช่วงที่พัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกกำลังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพัฒนาการด้านการบดเคี้ยว ภายในช่องปากที่กล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาการดูดกลืน เริ่มจากการเม็มปาก การบดด้วยเหงือกจนเมื่อลูกเข้า 7 เดือนฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้น ลูกจะเริ่มเรียนรู้การกัดและเคี้ยว จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมในการให้อาหารเสริมกับลูก
อาหารเสริมมื้อแรกของลูก
ควรเริ่มต้นด้วยการให้อาหารบดเหลวที่มีส่วนผสมชนิดเดียว เมื่อลูกคุ้นเคยกับรสชาติที่หลากหลายแล้ว คุณอาจเริ่มผสมอาหารสองชนิดหรือมากกว่านั้น ควรให้ลูกได้รับแคลอรี, โปรตีน, ไขมัน, วิตามิน และแร่ธาตุเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้รับจากนมแม่แนะนำให้ลูกรู้จักกับความหยาบ/ละเอียดและรสชาติที่หลากหลายและฝึกให้ลูกชอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพตั้งแต่เยาว์วัย กลืนและย่อยง่าย โดยมีหลักการง่ายๆดังนี้
- อาหารแรกเริ่มที่ดีที่สุดควรเป็นอาหารที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดภูมิแพ้น้อยที่สุด เช่น โจ๊กข้าวเปล่าหรืออาหารเสริมธัญพืชหรือซีเรียลสูตรข้าวเสริมธาตุเหล็ก มันฝรั่งบดเหลวและกรองผ่านตะแกรง ผักและผลไม้บดเหลว
- กินอาหารเสริมธัญพืชสำหรับเด็กที่ไม่แพ้กลูเต็น เช่น ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์ หรือข้าวโอ๊ต ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เช่น ปลา, เต้าหู้อ่อน, เนื้อสัตว์, สัตว์ปีก และไข่แดงเมื่อลูกมีอายุเพิ่มขึ้น นมยังคงเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดในขวบปีแรก
- ไม่ควรเติมน้ำตาล, เกลือ หรือเครื่องเทศ/ซอสปรุงรสใดๆ เพราะเครื่องปรุงรสเหล่านี้อาจทำให้ลูกติดรสหวานหรือรสเค็มเมื่อโตขึ้น

ช่วงเวลาที่ควรให้อาหารเสริม
ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือหลังจากให้ลูกกินนมตามปกติ อาจจะเลือกช่วงเวลากลางวันที่สะดวกในการเริ่มป้อนอาการ โดยเรี่มทีละน้อยด้วยการป้อนอาหารบดเหลวผสมนมแม่ครั้งละ 1-2 ช้อนชาค่อยๆ เพิ่มขนาดบริโภคและความหยาบเมื่ออายุเพิ่มขึ้น แล้เมื่อลูกสามารถกินอาหารหยาบได้มากขึ้น ก็ค่อยเพิ่มจำนวนเป็นมื้อเป็น 2 มื้อ และ 3 มื้อต่อวัน
กรณีเปลี่ยนอาหารใหม่ เช่น จะเริ่มให้ไข่แดง ควรห่างกัน 2-3 วันเพื่อให้ลูกมีเวลาปรับตัวในการรับรู้กลิ่นรสใหม่ๆ และความหยาบ/ละเอียดของอาหารใหม่ และหากลูกมีอาการแพ้อาหาร ช่วงเวลานี้ยังช่วยให้คุณสังเกตได้ว่าอาหารชนิดใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้
ประเภทของอาหารเสริมที่เหมาะกับลูกในแต่ละช่วงอายุ
6-7 เดือน อาหารบดเหลวและผ่านการกรอง เช่น โจ้กข้าวเหลว ซีเรียลสำหรับทารก ผักหรือผลไม้ชนิดเดียว ควบคู่กับการให้น้ำนมแม่ตามปกติ
8-9 เดือน ให้อาหารที่เริ่มมีเนื้อสัมผัส แต่ยังคงเป็นเนื้อละเอียด สับละเอียด วัยนี้ควรเริ่มให้เนื้อสัตว์ เช่น ปลา หรือไก่ ไข่แดง เต้าหู้อ่อน ซีเรียล ข้าวโอ๊ตหรือข้าวสาลี น้ำผลไม้ที่ไม่เติมน้ำตาลควบคู่กับการให้น้ำนมแม่ตามปกติ
10-12 เดือน เริ่มให้อาหารที่ลูกจะหยิบกินเองได้ อาจจะหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋าหรือสับละเอียด ควรเริ่มให้เนื้อปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน โจ้ก ข้าวหุงนิ่ม ผัดบางชนิดที่กินดิบได้ ผลไม้แห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
Eating Tips
เด็กบางคนจำเป็นต้องใช้เวลาปรับตัวให้คุ้นเคยกับความหยาบ/ละเอียด, สีสัน และรสชาติที่หลากหลายของอาหารชนิดใหม่ๆ นานกว่าคนอื่น งานวิจัยบ่งชี้ว่าเด็กส่วนใหญ่จะลองอาหารชนิดใหม่หลังจากถูกคะยั้นคะยอให้กินประมาณ 11 ครั้ง*เพราะฉะนั้นหากลูกไม่ยอมกิน คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งละความพยายามนะคะ
อ้างอิง
*Young B., Drewett, R. Eating behavior and its variability in 1-year old children (2000), Appetite, 35, 171-177