คู่มือสู้ “ตะคริว” ยามตั้งครรภ์
เชื่อแน่ว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปลายไตรมาส 2- ใกล้คลอด หลายคนต้องเผชิญกับการเป็น “ตะคริว” อย่างแน่นอน แต่อาการนี้จะเกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร? ขอบอกว่าแค่เลือกกินให้เป็นก็สามารถป้องกันอาการตะคริวได้แล้วค่ะ
สาเหตุหรือต้นตอการเกิดตะคริวนั้น ปัจจุบันทางการแพทย์ในยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก 1 ใน 3 สาเหตุดังนี้
- กล้ามเนื้อฝืด การที่เอ็นและกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นไม่ค่อยได้ยืดตัว แต่มีการหดรั้งตัวเองอย่างมากเมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อในส่วนนั้น
- เซลล์ประสาทผิดปกติ เซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ การไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่ดี เช่น คนที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดตีบ เบาหวาน ฯลฯ มักจะเป็นตะคริวได้บ่อยและง่ายกว่า
- อากาศเย็น อาการตะคริวในหญิงตั้งครรภ์นั้นมักจะเกิดขึ้นบริเวณน่อง ซึ่งบ่อยครั้งจะเป็นในช่วงกลางคืนหรือในช่วงที่มีอากาศเย็น
แต่นอกเหนือจากการเป็นตะคริวที่ขาแล้ว การเกิดตะตริวที่ท้องในระหว่างตั้งครรภ์นั้นก็เป็นเรื่องที่สร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่เป็นอย่างมาก แต่จะเกิดจากอะไรนั้น เรามาดูกันดีกว่าค่ะ
การเกิดตะคริวบริเวณท้อง เรื่องใหญ่ในระหว่างตั้งครรภ์!
ตะคริวบริเวณท้องขณะตั้งครรภ์ที่ไม่รุนแรงมากนักเกิดจากการขยายตัวของมดลูกและการยืดตัวของเอ็น แต่ถ้าหากคุณเป็นตะคริวที่รุนแรงและมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่น่าเป็นห่วงคุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ อาจมีความเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ ดังนั้นหากคุณรู้สึกไม่ดีหรือมีปัญหาบริเวณท้อง คุณควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์โดยเร็ว
หลากหลายวิธีคลายตะคริว
- ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุดใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ ส่วนมืออีกข้างค่อยๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงอย่างช้าๆ แล้วนวดที่น่องเบาๆ ไม่ควรนวดแรง เพราะกล้ามเนื้ออาจจะบาดเจ็บทำให้ตะคริวกลับมาอีกได้
- ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขา ให้คุณแม่เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุดใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ส่วนมืออีกข้างค่อยๆกดลงบนหัวเข่าแล้วนวดต้นขาบริเวณที่เป็นตะคริวเบาๆ
- ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วเท้า ให้เหยียดนิ้วเท้าตรงและลุกขึ้นยืนเขย่งเท้าเดินไป-มา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวจากนั้นค่อยๆ นวดบริเวณนิ้วเท้าเบาๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือก็เหยียดนิ้วมือออก เพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายออก
- ถ้าเป็นตะคริวบริเวณท้องอย่างต่อเนื่อง ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอ และหากมีเลือดออกเป็นจำนวนมากร่วมกับการเป็นตะคริว คุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอทันทีนะคะ
นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถป้องกันตะคริวได้ง่ายๆ ด้วยการกินอีกด้วย แต่จะกินอะไรนั้น คลิกอ่านหน้าถัดไปเลยค่ะ