คุณแม่รู้ไหม? ทารกในครรภ์น้ำหนักมากไป ไม่ใช่เรื่องดีนะ?
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว เรื่องที่สำคัญที่สุดต้องเป็นเรื่องของลูกน้อยอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพของลูก ซึ่ง “น้ำหนัก” ของลูกก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญที่จะบ่งบอกได้ว่าสุขภาพโดยรวมของเจ้าตัวเล็กอีกด้วย คุณแม่หลายคนมักคิดว่าลูกต้องตัวใหญ่สิ จะได้แ็งแรง ก็เลยขุนตัวเองกันยกใหญ่ โดยที่หารู้ไม่ว่า ที่ลูกน้ำหนักมากจนเกินพอดีนั้น ก็อาจจะเป็นอันตรายได้เช่นกัน
น้ำหนักลูกควรหนักเท่าไหร่?
ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องน้ำหนักเกิน เรามาดูกันดีกว่าว่า น้ำหนักของลูกที่เป็นมาตรฐานนั้นควรอยู่ที่เท่าไหร่? เรามีมาบอกคุณแม่กันค่ะ โดยทารกในครรภ์แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ตารางด้านล่างนี้จะเริ่มต้นน้ำหนักของทารกอายุครรภ์ 9 สัปดาห์เป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ผลการตั้งครรภ์ชัดเจนมากกว่าช่วงแรก
ที่มา : http://th.theasianparent.com/ น้ำหนักทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์
น้ำหนักลูกแค่ไหน เข้าขั้นตัวใหญ่
โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะถือว่าน้ำหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไปถือว่าเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ตัวใหญ่ ซึ่งข้อมูลของน้ำหนักทารกในแต่ละกลุ่มประชากรก็จะมีความแตกต่างในการที่จะกำหนดน้ำหนักของทารก สำหรับเกณฑ์ของทารกที่ถือว่าตัวใหญ่ที่ใช้กันมากคือ 4,000 กรัม หรือ 4,500 กรัมขึ้นไป ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้เกณฑ์น้ำหนักทารกตั้งแต่ 4,500 กรัมขึ้นไป ส่วนในบ้านเราใช้เกณฑ์น้ำหนัก 4,000 กรัม*
ทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกิดจากอะไร?
จากการวิจัยเกี่ยวกับน้ำหนักของทารกในครรภ์เราขอแบ่งสาเหตุออกเป็น 2 ชนิดคือ
- สาเหตุจากปัจจัยภายใน คือสิ่งที่ทำให้ทารกมีน้ำหนักเกินเกิดจากสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น เชื้อชาติ, ตั้งครรภ์ทารกเพศชาย ก็มีโอกาสน้ำหนักเกินได้มากกว่าเพสหญิง, มักเกิดในท้องหลัง ตั้งครรภ์นานเกินกำหนด และคุณแม่มีประวัติคลอดบุตรที่มีน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม เป็นต้น
- สาเหตุจากปัจจัยภายนอก คือ สิ่งที่ทำให้ทารกน้ำหนักเกินนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากพฤติกรรม หรือโรคกลุ่มที่เกิดจากพฤติกรรม เช่น น้ำหนักตัวของพ่อแม่มากกว่าปกติ หรือเป็นเบาหวาน แม่ที่สูบบุหรี่
* โอกาสที่จะพบว่าลูกในท้องตัวโตนั้นจะพบในคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 133 กก. (300 ปอนด์) จะมีโอกาสพบได้ประมาณ 5-15 %
ทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไปเสี่ยงอะไรบ้าง?
- การเสียชีวิตในครรภ์สูงกว่าปกติ 3-8 เท่า
- คลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า
- เสียชีวิตหลังคลอด 4-10% หรือ 7 เท่า
- รูปร่างผิดปกติตั้งแต่เกิดเพิ่มจากปกติ 2-3 เท่า นอกจากนี้ยังเสียชีวิตจากความบอบช้ำที่เกิดจากการคลอดยากด้วย
- มีโอกาสที่เด็กเป็นเบาหวานจะมากกว่าเด็กปกติ โดยการสืบทอดทางพันธุกรรม
ทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไปป้องกันได้อย่างร?
วิธีการป้องกันอยู่มราคุณแม่เลยค่ะ กรณีที่คุณแม่แข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวหรือน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์นั้น ต้องให้ความสำคัญกับ “น้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์” ให้มากๆ โดยทั่วไปน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด แพทย์จะแนะนำไม่ให้เกิน 10-12 กิโลกรัม กาารักษาระดับของน้ำหนักให้เพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพนั้นต้องอาศัย “โภชนาการ” ที่ดี โดยการรับประทานอาหารให้พอเหมาะทั้งในเรื่องปริมาณและรูปแบบของอาหารที่รับประทาน ฉะนั้นอย่าเพลิดเพลินกับการกินอาหารมากจนเกินไปนะคะ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารหวานจัด หรือเค็ม เผ็ด เปรี้ยวจัด ควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม เพื่อให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะมีน้ำหนักเกินระหว่างตั้งครรภ์แล้วค่ะ
ที่มา baby.kapook.com