แพ้ท้องอยากกินอะไรแปลกๆ ผิดไหม? ท้องนี้กินอะไรให้ได้น้ำหนักพอดี?
ปัญหาเรื่องการกินและน้ำหนักของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ เป้นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ คุณแม่บางคนน้ำหนักน้อยไป กินเท่าไหร่ก็ไม่หนักขึ้น หรือบางคนตามใจปากจนน้ำหนักขึ้นมากจนส่งผลเสียต่อทั้งตัวคุณแม่เองและลูก รวมถึงปัญหายอดฮิตที่ทำไมช่วงตั้งครรภ์ถึงอยากกินแต่อะไรแปลกๆ ที่ถ้าไม่ท้องก็ไม่อยากจะกิน เรามีคำตอบมาบอกกันค่ะ
ท้องนี้กินอะไรดีให้น้ำหนักพอดี
เราเคยนำเสนอบทความเรื่อง “ท้องนี้หนักเท่าไหร่ดี” ไปแล้ว เรามาช่วยคุณแม่ที่มีน้ำหนักไม่ตามมาจรฐานกันค่ะ ว่าถ้าน้ำหนักย้อย ควรกินอะไรเพิ่มดี หรือถ้าน้ำหนักมากไป ควรกินอย่างไรดี เพราะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว เราไม่แนะนำให้อดมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่งต้องเลือกรับประทานอย่างเหมาะสมจะดีกว่าค่ะ
แต่คุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า ในช่วงไตรมาสแรกนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักขึ้นเพียง 1-2 กิโลกรัมเท่านั้น เพราะ 3 เดือนแรกนี้เจ้าตัวเล็กมีน้ำหนักเพียง 50 กรัม ดังนั้นช่วงนี้หากน้ำหนักขึ้นน้อยก็ไม่ต้องตกใจไป ช่วงที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะเป็นในช่วงไตรมาสที่สองจนถึงต้นไตรมาสที่สาม น้ำหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และในระยะเดือนสุดท้ายน้ำหนักจะคงที่ หรือลดลงบ้างเล็กน้อย ประมาณ 1/2 กิโลกรัม นั่นคือในไตรมาสที่ 3 อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มมาขึ้นแค่ 2-3 กิโลครัมเท่าน้น
น้ำหนักหนักน้อยไปจะกินอะไรดี
คุณแม่ท้องแรกส่วนใหญ่มักเครียดว่าท้องไม่ใหญ่เลย บางคนท้องไตรมาสสุดท้ายแล้วยังน่ำหนักน้อยอยู่แลย แถมไม่อยากอาหารอีกต่างหาก จะทำอย่างไรดี? ก่อนอื่นคุณแม่ต้องคิดก่อนว่าน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์นั้นมากแค่ไหน ถ้าคุณเป็นคนผอมที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว การที่น้ำหนักขึ้นมากมายช่วงตั้งครรภ์คงเป้นไปไม่ได้ แต่น้ำหนักที่ควรขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพร่างกายก่อนตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์ปกติหรือครรภ์แฝด
ถ้าจะถามว่ารับประานอะไรดีให้น้ำหนักขึ้นมาก เราขอให้คุณแม่รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามดภชนาการเช่นเดิม เพิ่มเติมคือจำนวนมื้อให้มากขึ้น นั่นคือเพิ่มมื้ออาหารว่างไปด้วย ( รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อและอาหารว่าง 3 ครั้ง) โดยเน้นการกินโปรตีนเช่น เนื้อสัตว์ที่รับประทานควรไม่ติดมัน ถ้าเป็นปลาก็จะยิ่งดี แต่ไม่ควรรับประทานปลาทูน่าเกิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และคาร์โบไฮเดรตคุณภาพ (ธัญพืช อาหารจำพวกเส้น ซีเรียล) ให้มากขึ้น ไขมันจากถั่วและไข่ ของหวานและอาหารทอดสามารถรับประทานได้แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
น้ำหนักขึ้นมากจนอึดอัดต้องกินอะไรดี
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยพอๆ กับน้ำหนักน้อยเกินไป ที่น่ากลัวกว่าคือคุณแม่ตั้งครรภ์มักไม่รู้ว่านี่เป็นปัญหาที่น่าใส่ใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าเมื่อตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักมากขึ้น จึงละเคยการรับประานที่ถูกต้องไป หลายคนจึงตามใจปาก และกินมากจนผิดหลักดภชนาการไป เราจึงขอให้คุณแม่หันกลับมาใส่ใจกับน้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์สักนิด
การรับประทานอาหารที่ถูกต้องในช่วงตั้งครรภ์นั้น ต้องแบ่งประทานอาหารวันละ 3 มื้อและอาหารว่าง 3 ครั้ง อย่างที่กล่าวไปแล้ว แต่สำหรับคุณแม่น้ำหนักเกิน ต้องปรับเปลี่ยน 7 ข้อ ง่ายๆ ดังนี้
- ลดมื้อหลักให้น้อยลง เสริมเป็นมื้อาหารว่างแทน
- ใช้จานอาหารให้เล็กลง (ให้ผลทางจิตวิทยา เป็นสัญลักษณ์ให้ร่างกายรับรู้ว่าอาหารหมดจานแล้ว)
- ไม่เติมอาหาร และรอจนกว่าจะถึงมื้อต่อไปแทน
- เลือกกินผลไม้น้ำตาลต่ำแทนของหวาน เช่น ฝรั่ง ชมพู่ มันแกว แอปเปิ้ลเขียว เป็นต้น
- กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปรุงสุดด้วยการอบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง แทนการทอดและผัด
- ลดคาร์โบไฮเดรตและแป้งลง เพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหวาน ชา/กาแฟเย็น น้ำอัดลม เปลี่ยนมากินน้ำผลไม้น้ำตาลต่ำและน้ำเปล่าแทน
ที่สำคัญเลยสำหรับคุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินคือต้องออกกำลังกายเบาๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การง่ายน้ำ หรือจะเล่นโยคะก้ได้ หากคุณแม่ไม่มีภาวะทางร่างกายที่อันตรายต่อการออกกำลังกาย เราแนะนำให้ออกกำลังกายวันเว้นวันค่ะ
ตอบปัญหาคาใจ ทำไมช่วงแพ้ท้องถึงอยากกินอะไรแปลกๆ
คุณแม่หลายคนคงประสบปัญหาเดียวกัน ว่าช่วงแพ้ท้องอยากกินอะไรที่ไม่เคยกินมาก่อน บางครั้งเป้นของที่กินไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่ก้ยังอยากกิน บางครั้งก็เป็นของกินที่ไม่ได้ดีต่อสุขภาพหรือถูกต้องตามโภชนาการมากนัก เช่น ของหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่เนื้อสัตว์และเครื่องในดิบ ที่ถ้าไม่แพ้ท้องคุณแม่ก็ไม่คิดที่จะชิมด้วยซ้ำ
อาการนี้เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่แปรปรวนช่วงตั้งครรภ์ค่ะ ถ้าจะถามว่าทำไมบางคนเป็น ำไมบางคนไม่เป็น นั่นเป็นเพราะคนเรามีระดับฮอร์โมนต่างๆไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพของคุรแม่ก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ดูแลตัวเองดี ไม่มีโรคภัย ร่างกายแข็งแรงก็อาจไม่แพ้ท้องเลยด้วยซ้ำ ฮอร์โมนตัวนี้มีชื่อว่า Neuropeptide Y หรือ NPY โดยปกตินั้นถูกสร้างโดยสมอง เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อความรู้สึกหิว และกระตุ้นให้เราอยากกินอาหาร และ Ghrelin ที่เป็นฮอร์โมนที่เร่งการเจริญอาหาร ทำให้รู้สึกหิวตลอดเวลา ความปั่นป้วนของฮอร์โมนในช่วงนี้นี่เงที่ทำให้เกิดความอยาอาหารที่สูงกว่าเดิมมาก
ที่มา
http://th.theasianparent.com/20 ความอยากแปลก ๆ ของผู้หญิงท้อง