คุณแม่นักปั๊มต้องรู้ เคล็ดลับการเก็บนมแม่ฉบับมือโปร
คุณแม่นักปั๊มทั้งหลาย สิ่่งที่คุณแม่ต้องใส่ใจไม่ใช่แค่ปริมาณน้ำนมที่ปั๊มเท่านั้น แต่ต้องมีเคล็ดลับในการจัดเก็บนมด้วย เพื่อให้คงคุณค่าทางสารอาหารของนมแม่ทุกหยดไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อลูกน้อยจะได้คุณค่าเหมือนดูดจากเต้าทุกครั้ง แต่วิธีการจะมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันเลยค่ะ
เก็บนมแม่ไว้ได้นานเท่าไหร่?
เป็นคำถามยอดฮิตเลยก็ว่าได้ เกี่ยวกับระยะเวลาในการเก็บนม ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่าคุณแม่เก็บนมไว้ที่ไหน? นมแม่นั้นสามารถเก็บได้ทั้งในอุณหภูมิห้องจนถึงตู้แช่แข็งขนาดใหญ่ ซึ่งระยะเวลาก็จะแปรผันกันไป คุณแม่นักปั๊มทั้งหลายควรวางแผนให้ดี กรณีที่คุณแม่ต้องเดินทางไกลหรือกลับไปทำงาน นอกจากการเตรียมทำสต็อกนมแล้ว อุปกรณ์ในการเก็บก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการเก็บที่ถูกวิธีก็จะยิ่งช่วยยืดระยะเวบาในการเก็บนมให้นานขึ้นอีก ตามตารางนี้เลยค่ะ
นอกจากการเก็บตามสถานที่เก็บแล้ว เรายังมีหลักการง่ายๆในการเก็บสต็อกนมแม่มาฝากกันอีกด้วยค่ะ
12. หลักการง่ายๆ ในการเก็บนมแม่
- เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้ ให้ละลายนมแม่ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน (12 ช.ม.)
- ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็น
แช่น้ำอุ่น - ถ้าลูกชอบกินนมเย็นๆ ให้นำนมที่แช่ไว้แกว่งเป็นวงกลมเบาๆ ให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากัน แล้วป้อนได้เลย
- น้ำนมแม่ที่ละลายแล้ว หากลืมวางไว้ที่อุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง ให้ทิ้งไป ไม่ควรเก็บไว้กินต่อ
- น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้เมื่อละลายแล้ว ยังสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. แต่ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก
- การอุ่นนมแม่ ให้นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ในนมแม่
- ไม่จำเป็นต้องเก็บนมแม่ในถุง จะเก็บในขวดแก้วหรือภาชนะสะอาดอื่นๆ ก็ได้ แต่นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในภาชนะอื่นๆ จึงสะดวกในการนำไปใช้
- น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
- สามารถผสมน้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมาใหม่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ช.ม.หลังจากการเก็บครั้งแรก
- ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติได้
- ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น)
- น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว อาจมีกลิ่นหื่น แต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว จึงจะเสีย) วิธีดีที่สุดที่จะรู้ว่านมเสียหรือไม่คือ ลองชิมดู
สิ่งที่อยากฝากคุณแม่นักปั๊มทั้งหลายคือ เคล็ดลับที่ช่วยให้น้ำนมมานานและปริมาณมากต้องเริ่มจากตัวคุณแม่ก่อนค่ะ “ห้ามเครียด” และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงหมั่นออกกำลังกาย ให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อน เลือดลมไหลเวียน ที่สำคัญให้ลูกดูดจากเต้าบ่อยๆจะเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ตามธรรมชาตินะคะ
ที่มา
http://www.breastfeedingthai.com/วิธีเก็บรักษานมแม่
http://baby.kapook.com/เรื่องน่ารู้คุณแม่